ใบงานที่ 12





การใช้โปรแกรม SPSS

สำหรับโปรแกรม SPSS ประกอบไปด้วยหน้าต่างหลัก 5 หน้าต่าง คือ 1. Data window 2. Syntax window 3. Output window 4. Draft output window 5. Script window
1. Data window/Data Editor
เป็น หน้าต่างสำหรับเก็บแฟ้มข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ซึ่งผู้ใช้อาจจะทำการป้อนข้อมูลลงในหน้าต่าง Data เลย หรือนำแฟ้มข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้ในโปรแกรม SPSS โดยจะต้องใช้หน้าต่าง Data เป็นตัวเรียก ในหน้าต่าง Data ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ หน้าต่างนี้จะเปิดได้ครั้งละ 1 หน้าต่างเท่านั้น โดยปกติเมื่อเริ่มใช้โปรแกรม SPSS จะปรากฏหน้าต่าง Data ทันที ส่วนหน้าต่างอื่นๆ จะปรากฏให้เห็นภายหลัง นอกจากนี้หน้าต่าง Data ประกอบไปด้วย 2 แถบชีต คือ แถบชีต Data View ใช้สำหรับการป้อนข้อมูล และแถบชีต Variable View ใช้สำหรับกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปร และค่าของข้อมูลแต่ละตัวแปรโดยจะอยู่ในลักษณะของกระดาษทำการ (Spread sheet)

แถบรายการหลัก (Menu Bar) ของโปรแกรม SPSS

รายละเอียดของแถบรายการหลัก (Menu Bar) ในหน้าต่าง Data มีดังนี้

1. การจัดการแฟ้มข้อมูล (File) ใช้สำหรับเปิด/ปิด หน้าต่างประเภทต่างๆ ใช้เรียกข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ ใช้บันทึกข้อมูลในแต่ละหน้าต่างลงแฟ้ม พิมพ์ข้อมูลในแต่ละหน้าต่างออกทางเครื่องพิมพ์และเลิกการใช้โปรแกรม SPSS
2. การแก้ไขข้อมูล (Edit) ใช้ย้าย คัดลอก หรือค้นหา ข้อมูลภายในหน้าต่างต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ของหน้าต่าง
3. การแสดงข้อมูล (View) ใช้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงผลในหน้าต่าง เช่น ตัวอักษร (Font) การแสดงข้อความแทนค่า (Value label)
4. การจัดการข้อมูล (Data) ใช้ดำเนินงานกับข้อมูลในหน้าต่าง Data Editor เช่น สร้าง แก้ไข การรวมแฟ้มข้อมูล การเลือกข้อมูล เรียงลำดับข้อมูล
5. การปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Transform) ใช้ในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูล เช่น สร้างตัวแปรใหม่เพิ่มเติม หรือจัดค่าตัวแปรใหม่
6. การวิเคราะห์สถิติ (Analyze) ใช้เรียกคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7. กราฟ (Graphs) ใช้สร้างกราฟหรือ ชาร์ตในรูปแบบต่างๆ
8. การอำนวยความสะดวก (Utilities) ใช้ดูรายละเอียดของตัวแปร จัดกลุ่มตัวแปร การนำชุดคำสั่งที่เขียนในหน้าต่าง Script มาใช้งานการเพิ่มเมนู
9. หน้าต่าง (Window) ใช้จัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ ของหน้าต่าง การเลือกใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่
10. การช่วยเหลือ (Help) ใช้ขอคำอธิบายการใช้โปรแกรม SPSS

แถบเครื่องมือ (Tool Bar) ของโปรแกรม SPSS
รายละเอียดของแถบเครื่องมือ (Tool Bar) โปรแกรม SPSS มีต่อไปดังนี้

2. Output
เป็น หน้าต่างสำหรับแสดงและเก็บบันทึกผลลัพธ์หรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการใช้งานโปรแกรม SPSS โดยหน้าต่าง Output จะแสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการใช้งานในเมนูของ โปรแกรม SPSS ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าต่าง Output ได้มากกว่า 1 หน้าต่าง ซึ่งจะต้องมีการกำหนดหน้าต่างหนึ่งให้ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก การประมวลผล ครั้งล่าสุด แต่ถ้ามีหน้าต่างเดียวผลลัพธ์จะถูกแสดงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการสั่งให้แสดงผลลัพธ์ในหน้าต่าง Output อื่นๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในหน้าต่าง Output นี้ ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะให้แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของ Text ที่เป็นมาตรฐานซึ่งจะเรียกว่า แบบ Draff และในรูปแบบของ Graphics

รายละเอียดของแถบรายการหลัก (Menu Bar) ในหน้าต่าง Output มีต่อไปดังนี้
1. การจัดการแฟ้มข้อมูล (File) ใช้สำหรับเปิด/ปิด สร้าง บันทึกแฟ้ม Output
2. การแก้ไขข้อมูล (Edit) ใช้แก้ไข คัดลอก ค้นหาข้อมูลผลลัพธ์ในแฟ้ม Output
3. การแสดงข้อมูล (View) ใช้ Customize toolbar, Status bar แสดง/ซ่อน item
4. การเพิ่มข้อมูล (Insert) ใช้เพิ่ม/แทรก Page break, Tittle, Chart, Graph ฯ
5. รูปแบบ (Format) ใช้เปลี่ยน Alignment ของ Output ที่เลือก
6. การวิเคราะห์สถิติ (Analyze) ใช้เรียกคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7. กราฟ (Graphs) ใช้สร้างกราฟหรือชาร์ตในรูปแบบต่างๆ
8. การอำนวยความสะดวก (Utilities) ใช้ดูรายละเอียดของตัวแปร จัดกลุ่มตัวแปร การนำชุดคำสั่งที่เขียนในหน้าต่าง Script มาใช้งานการเพิ่มเมนู
9. หน้าต่าง (Window) ใช้จัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ ของหน้าต่าง การเลือกใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่
10. การช่วยเหลือ (Help) ใช้ขอคำอธิบายการใช้โปรแกรม SPSS
เริ่มต้นการใช้โปรแกรม SPSS 10.0 for windows
ขั้นตอนการสร้างแฟ้มข้อมูล
1. เข้าสู่โปรแกรม SPSS 10.0
2. เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Data ซึ่งเป็นตารางปฏิบัติการให้ ดังนี้
สำหรับ หน้าต่าง SPSS for Windows ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ในกรณีที่เป็นการใช้งานครั้งแรกให้เลือก Cancel และครั้งต่อไปให้พิจารณาชื่อแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บในช่อง
3. เริ่มกำหนดชื่อของตัวแปรแต่ละตัวลงในหัวตารางปฏิบัติการ ตามลำดับวิธีการดังนี้
3.1 ให้ Click ที่ เพื่อเปิดแถบชีต Variable View
3.2 เมื่อเปิดหน้าต่าง Variable View แล้วให้กำหนดรายละเอียดของตัวแปรที่ต้องการในช่องต่างๆ ดังนี้
Name คือ ชื่อของตัวแปรหรือหัวข้อในแบบสอบถามแต่ละข้อ เช่น "เพศ" แทนในช่อง sex
Type คือ การกำหนดชนิดของตัวแปร
Wide คือ เป็นการกำหนดความกว้างหรือจำนวนหลักของตัวแปร
Decimal คือ การกำหนดจำนวนหลักหลังทศนิยมของค่าตัวแปร
Label คือ การอธิบายรายการหรือความหมายของตัวแปร
Value คือ การกำหนดค่าของตัวแปร
Missing คือ การกำหนดค่าความผิดพลาด หรือการสูญหายของข้อมูล
Column คือ เป็นการกำหนดความกว้างของ Column ที่ใช้เก็บค่าตัวแปร
Alignment คือ การกำหนดตำแหน่งการวางข้อมูล
Measure คือ การกำหนดสเกลของข้อมูล
3.3 เมื่อกำหนดรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังนี้
3.4 จากนั้นให้ Click กลับมายังแถบชีต Data View ชื่อตัวแปรที่กำหนดไว้จะปรากฏที่หัวตารางปฏิบัติการ

Read Users' Comments (0)

0 Response to "ใบงานที่ 12"

แสดงความคิดเห็น