song (เธอจะอยู่กับฉันไหม)


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย

Read Users' Comments (0)

ใบงานที่ 14

Blog ในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ส่วนใหญ่) ใช้งานง่าย โดยผู้เขียนไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษา หรือโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ เลยก็ย่อมได้ สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่าย บนหน้าจอ ณ เวลานั้นเลย แต่หากจะมีความรู้เรื่องภาษา Html ก็จะยิ่งดีมากๆเพื่อช่วยในการปรับแต่งในขั้นลึกยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมายกว้างขวางยิ่งกว่า ไดอารี่ หรือบันทึกส่วนตัวทั่วๆไป
จุดเด่นในการใช้ (เว็บบล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com
- เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนในเรื่องต่างๆที่เสนอให้ผู้ที่สนใจรับรู้
- สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่ายบนหน้าจอตามที่ต้องการได้
- สามารถนำเสนอสื่อมัลติมิเดีย เช่น วีดีโอ สไลด์ เพลง รูปภาพ ได้หลากหลาย
- เป็นแหล่งรวมความรู้ที่หลากหลาย เผยแพร่และเข้าถึงได้ง่าย
- เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ เสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กรได้
- เป็นแหล่งเก็บข้อมูล ที่ทันสมัย ใช้ส่งข้อมูล หรือติดต่อสื่อสาร ออนไลน์
- ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
จุดด้อยในการใช้ (เว็บบล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com
- เครื่องมือที่ใช้มีหลากหลายยังศึกษาได้ไม่ครบทุกตัว ทำให้พัฒนาได้ไม่เต็มที่
- blogspot.com จำเป็นจะต้องศึกษาโปรแกรมอื่นเพิ่มเติมเพื่อได้ใช้งานร่วมกัน
เปรียบเทียบ Blogspot.com กับ Blog Go to Know
- blogspot สามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย สามารถใส่คลิปเพลง คลิปวีดีโอ และลูกเล่นต่างๆ ได้ เยอะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ส่วนGotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก
- blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น ส่วนGotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย
- blogspot ผู้เข้าไปใช้งานจะมีความหลากหลาย ส่วนGotokhow ผู้ใช้งานมักค้นหางานวิชาการหรือเผยแพร่บทความ
- Gotokhow เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เผยแพร่ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นเครื่องมือค้นหาผู้ชำนาญการ และสามารถแยกแยะประเภทของความรู้และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ โดยเจ้าของบล็อกสามารถจัดกลุ่มบันทึกแต่ละบันทึกด้วยคำหลักซึ่งแทนแก่นความ รู้สำคัญของบันทึกนั้นๆ ซึ่ง blogspot ไม่มีบันทึกคำหลัก ไม่มีการจัดกลุ่มบันทึก มีแต่ชื่อเรื่อง และป้ายกำกับ

Read Users' Comments (0)

ใบงานที่ 13



“อันเนื่องมาจาก........
การไม่ได้ไปศึกษาดูงาน”
สาเหตุสำคัญของการที่ตนเองไม่ได้ไปร่วมคณะศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 17 – 22 มกราคม 2553 กับคณะนักศึกษา ป.บัณฑิตการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีภารกิจการประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น (ภาคใต้) ประจำปี 2553 ในวันที่ 20 – 22 มกราคม 2553 ณ โรงแรม บีพี สมิหลาบีช สงขลา
โดยการประชุมใหญ่ประจำภาคใต้นั้นเป็นการประชุมเพื่อทบทวนความรู้และพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนในรอบปีที่ผ่านมาและเพื่อระดมสมองแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจของทางเครือข่ายให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพสนองตอบต่อวัตถุประสงค์การจัดตั้งเครือข่ายของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง
การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมโดยส่วนมาตรฐานวินัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งภาคใต้จำนวน 960 คน โดยเนื้อหาหลักของการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้สรุปได้ คือ
1. การซักซ้อมแนวทางการข้อหารือปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
2. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า “เป็นคู่กรณี” หรือ “ผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำความผิด”
3. การพิจารณาโทษทางวินัยพนักงานเทศบาล
ฯลฯ
การประชุมดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกมาจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้มีความจำเป็นต้องเดินทางไปราชการและไม่สามารถร่วมคณะศึกษาดูงานกับเพื่อน ป.บัณฑิตได้

Read Users' Comments (0)

ใบงานที่ 12





การใช้โปรแกรม SPSS

สำหรับโปรแกรม SPSS ประกอบไปด้วยหน้าต่างหลัก 5 หน้าต่าง คือ 1. Data window 2. Syntax window 3. Output window 4. Draft output window 5. Script window
1. Data window/Data Editor
เป็น หน้าต่างสำหรับเก็บแฟ้มข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ซึ่งผู้ใช้อาจจะทำการป้อนข้อมูลลงในหน้าต่าง Data เลย หรือนำแฟ้มข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้ในโปรแกรม SPSS โดยจะต้องใช้หน้าต่าง Data เป็นตัวเรียก ในหน้าต่าง Data ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ หน้าต่างนี้จะเปิดได้ครั้งละ 1 หน้าต่างเท่านั้น โดยปกติเมื่อเริ่มใช้โปรแกรม SPSS จะปรากฏหน้าต่าง Data ทันที ส่วนหน้าต่างอื่นๆ จะปรากฏให้เห็นภายหลัง นอกจากนี้หน้าต่าง Data ประกอบไปด้วย 2 แถบชีต คือ แถบชีต Data View ใช้สำหรับการป้อนข้อมูล และแถบชีต Variable View ใช้สำหรับกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปร และค่าของข้อมูลแต่ละตัวแปรโดยจะอยู่ในลักษณะของกระดาษทำการ (Spread sheet)

แถบรายการหลัก (Menu Bar) ของโปรแกรม SPSS

รายละเอียดของแถบรายการหลัก (Menu Bar) ในหน้าต่าง Data มีดังนี้

1. การจัดการแฟ้มข้อมูล (File) ใช้สำหรับเปิด/ปิด หน้าต่างประเภทต่างๆ ใช้เรียกข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ ใช้บันทึกข้อมูลในแต่ละหน้าต่างลงแฟ้ม พิมพ์ข้อมูลในแต่ละหน้าต่างออกทางเครื่องพิมพ์และเลิกการใช้โปรแกรม SPSS
2. การแก้ไขข้อมูล (Edit) ใช้ย้าย คัดลอก หรือค้นหา ข้อมูลภายในหน้าต่างต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ของหน้าต่าง
3. การแสดงข้อมูล (View) ใช้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงผลในหน้าต่าง เช่น ตัวอักษร (Font) การแสดงข้อความแทนค่า (Value label)
4. การจัดการข้อมูล (Data) ใช้ดำเนินงานกับข้อมูลในหน้าต่าง Data Editor เช่น สร้าง แก้ไข การรวมแฟ้มข้อมูล การเลือกข้อมูล เรียงลำดับข้อมูล
5. การปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Transform) ใช้ในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูล เช่น สร้างตัวแปรใหม่เพิ่มเติม หรือจัดค่าตัวแปรใหม่
6. การวิเคราะห์สถิติ (Analyze) ใช้เรียกคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7. กราฟ (Graphs) ใช้สร้างกราฟหรือ ชาร์ตในรูปแบบต่างๆ
8. การอำนวยความสะดวก (Utilities) ใช้ดูรายละเอียดของตัวแปร จัดกลุ่มตัวแปร การนำชุดคำสั่งที่เขียนในหน้าต่าง Script มาใช้งานการเพิ่มเมนู
9. หน้าต่าง (Window) ใช้จัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ ของหน้าต่าง การเลือกใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่
10. การช่วยเหลือ (Help) ใช้ขอคำอธิบายการใช้โปรแกรม SPSS

แถบเครื่องมือ (Tool Bar) ของโปรแกรม SPSS
รายละเอียดของแถบเครื่องมือ (Tool Bar) โปรแกรม SPSS มีต่อไปดังนี้

2. Output
เป็น หน้าต่างสำหรับแสดงและเก็บบันทึกผลลัพธ์หรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการใช้งานโปรแกรม SPSS โดยหน้าต่าง Output จะแสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการใช้งานในเมนูของ โปรแกรม SPSS ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าต่าง Output ได้มากกว่า 1 หน้าต่าง ซึ่งจะต้องมีการกำหนดหน้าต่างหนึ่งให้ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก การประมวลผล ครั้งล่าสุด แต่ถ้ามีหน้าต่างเดียวผลลัพธ์จะถูกแสดงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการสั่งให้แสดงผลลัพธ์ในหน้าต่าง Output อื่นๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในหน้าต่าง Output นี้ ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะให้แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของ Text ที่เป็นมาตรฐานซึ่งจะเรียกว่า แบบ Draff และในรูปแบบของ Graphics

รายละเอียดของแถบรายการหลัก (Menu Bar) ในหน้าต่าง Output มีต่อไปดังนี้
1. การจัดการแฟ้มข้อมูล (File) ใช้สำหรับเปิด/ปิด สร้าง บันทึกแฟ้ม Output
2. การแก้ไขข้อมูล (Edit) ใช้แก้ไข คัดลอก ค้นหาข้อมูลผลลัพธ์ในแฟ้ม Output
3. การแสดงข้อมูล (View) ใช้ Customize toolbar, Status bar แสดง/ซ่อน item
4. การเพิ่มข้อมูล (Insert) ใช้เพิ่ม/แทรก Page break, Tittle, Chart, Graph ฯ
5. รูปแบบ (Format) ใช้เปลี่ยน Alignment ของ Output ที่เลือก
6. การวิเคราะห์สถิติ (Analyze) ใช้เรียกคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7. กราฟ (Graphs) ใช้สร้างกราฟหรือชาร์ตในรูปแบบต่างๆ
8. การอำนวยความสะดวก (Utilities) ใช้ดูรายละเอียดของตัวแปร จัดกลุ่มตัวแปร การนำชุดคำสั่งที่เขียนในหน้าต่าง Script มาใช้งานการเพิ่มเมนู
9. หน้าต่าง (Window) ใช้จัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ ของหน้าต่าง การเลือกใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่
10. การช่วยเหลือ (Help) ใช้ขอคำอธิบายการใช้โปรแกรม SPSS
เริ่มต้นการใช้โปรแกรม SPSS 10.0 for windows
ขั้นตอนการสร้างแฟ้มข้อมูล
1. เข้าสู่โปรแกรม SPSS 10.0
2. เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Data ซึ่งเป็นตารางปฏิบัติการให้ ดังนี้
สำหรับ หน้าต่าง SPSS for Windows ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ในกรณีที่เป็นการใช้งานครั้งแรกให้เลือก Cancel และครั้งต่อไปให้พิจารณาชื่อแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บในช่อง
3. เริ่มกำหนดชื่อของตัวแปรแต่ละตัวลงในหัวตารางปฏิบัติการ ตามลำดับวิธีการดังนี้
3.1 ให้ Click ที่ เพื่อเปิดแถบชีต Variable View
3.2 เมื่อเปิดหน้าต่าง Variable View แล้วให้กำหนดรายละเอียดของตัวแปรที่ต้องการในช่องต่างๆ ดังนี้
Name คือ ชื่อของตัวแปรหรือหัวข้อในแบบสอบถามแต่ละข้อ เช่น "เพศ" แทนในช่อง sex
Type คือ การกำหนดชนิดของตัวแปร
Wide คือ เป็นการกำหนดความกว้างหรือจำนวนหลักของตัวแปร
Decimal คือ การกำหนดจำนวนหลักหลังทศนิยมของค่าตัวแปร
Label คือ การอธิบายรายการหรือความหมายของตัวแปร
Value คือ การกำหนดค่าของตัวแปร
Missing คือ การกำหนดค่าความผิดพลาด หรือการสูญหายของข้อมูล
Column คือ เป็นการกำหนดความกว้างของ Column ที่ใช้เก็บค่าตัวแปร
Alignment คือ การกำหนดตำแหน่งการวางข้อมูล
Measure คือ การกำหนดสเกลของข้อมูล
3.3 เมื่อกำหนดรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังนี้
3.4 จากนั้นให้ Click กลับมายังแถบชีต Data View ชื่อตัวแปรที่กำหนดไว้จะปรากฏที่หัวตารางปฏิบัติการ

Read Users' Comments (0)

ใบงานที่ 11


อาจารย์มีความรู้ความสามารถในด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี นักศึกษา ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ อาจารย์อภิชาติมีความเป็นกันเองและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้รู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้...

Read Users' Comments (0)

ใบงานที่ 10



ประวัติส่วนตัว
นายเสกศักดิ์ การวินพฤติ
ประวัติการศึกษา
- ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดน้ำตก
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
- ระดับ ปวช. วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
- ระดับ ปวส. คณะวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีวิทยาเขตเพาะช่าง
- ระดับปริญญาตรี ศ.บ คณะศิลปกรรม ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลคลองหก ปทุมธานี
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2540 ดีไซน์เนอร์ออกแบบเสื้อผ้าบริษัทยูนิตี้แฟบริคเฮาส์ จำกัด กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2543 ดีไซน์เนอร์อิสระ
- พ.ศ. 2543 อาจารย์พิเศษสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช
- พ.ศ. 2544 ประกอบธุรกิจอิสระด้านศิลปะ
- พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษาชมรมต้นศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- พ.ศ. 2545 เจ้าหน้าที่อบรมโครงการเพื่อเด็กและเยาวชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- พ.ศ. 2548 ครูโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง
- พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด จ.พัทลุง

คติประจำใจ
- ทหารที่กล้า มักไม่ทำอะไรรุนแรง
- นักสู้ที่ดี ย่อมไม่บันดานโทสะ
- ผู้พิชิตที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่สู้รบด้วยเรื่องเล็กน้อย
- ผู้ใช้คนที่ดี ย่อมวางตนต่ำกว่าคนอื่น

Read Users' Comments (0)